วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทเรียนเหตุการณ์ ‘ฮูแตยือลอ’ กับการปฏิบัติงานของ ‘เจ้าหน้าที่รัฐ’

อสนียาพร นนทิพากร

จากการที่หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ทหารเรือ (ฉก.นย.ทร.) ได้ทำการเปิดแผนยุทธการเพื่อควบคุมสถานการณ์ในห้วงที่ผ่านมา  โดยมุ่งเน้นการใช้กำลังเชิงรุกในลักษณะการลาดตระเวน และตั้งจุดตรวจไม่ประจำที่ (ด่านลอย) บริเวณรอบหมู่บ้านที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเป้าหมาย

การปฏิบัติมีการลาดตระเวนจรยุทธ์เกาะติดพื้นที่ ในพื้นที่รับผิดชอบ อำเภอบาเจาะ และ อำเภอยี่งอ  โดยได้รับการแจ้งข่าวสารจากประชาชนในพื้นที่ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดด้วยรถยนต์กระบะเข้ามายังพื้นที่รับผิดชอบ ในค่ำคืนของวันที่ 23 ตุลาคม 2557 จากบ้านกาเยาะมาตี ตำบลกาเยาะมาตี เข้าไปที่ บ้านฮูแตยือลอ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ซึ่งจากข้อมูลของแหล่งข่าวที่แจ้งมานั้น กลุ่มแนวร่วมขบวนการจะใช้เส้นทางในการลำเลียงวัตถุระเบิดจาก บ้านกาเยาะมาตี บ้านชูโว บ้านคลอแระ บ้านบูเกะสูดอ บ้านฮูแตยือลอ  เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ทหารเรือ จึงได้จัดกำลังเพื่อเข้าทำการสกัดกั้นการขนย้ายวัตถุระเบิดดังกล่าว โดยจัดเป็น 3 ชุดปฏิบัติการด้วยกัน ได้แก่

1. ชุดเฝ้าตรวจแจ้งเตือนการเข้ามาบริเวณแยก โรงเรียนบ้านบูเกะสูดอ
2. ชุดเฝ้าตรวจแจ้งเตือนการเข้ามาบริเวณมัสยิดบ้านฮูแตยือลอ
3. จุดสกัดบริเวณก่อนถึงสามแยกเข้าบ้านกระทุง

จนกระทั่งเวลา 22.30 น. จุดเฝ้าตรวจที่ 1 ตรวจพบรถกระบะ 2 คัน ลักษณะคล้ายรถที่ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว มาจอดคุยกันบริเวณ สามแยกบ้านบูเก๊ะสูดอ แล้วออกรถมุ่งหน้าไปยังจุดตรวจที่ 2 จึงวิทยุแจ้งให้จุดตรวจที่ 2 ทราบ เมื่อผ่าน จุดเฝ้าตรวจที่ 2 ตรวจพบรถกระบะเพียง 1 คัน จึงวิทยุแจ้งให้จุดตรวจ จุดตรวจที่ 3 ให้เตรียมตรวจสอบรถคันดังกล่าว เมื่อมาถึงจุดตรวจที่ 3 เจ้าหน้าที่จึงได้ขอเข้าทำการตรวจค้น โดยมีกำลังประจำจุดตรวจ จำนวน 6 นาย แสดงตัวบนถนน ฉายไฟฉายให้ทำการหยุดรถเพื่อขอเข้าทำการตรวจค้น  แต่รถคันดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะหยุด หัวหน้าชุดจึงได้ตัดสินใจใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า เพื่อจะให้รถหยุด แต่รถคันดังกล่าวกลับไม่หยุด  ชุดระวังป้องกันจึงยิงบริเวณล้อรถเพื่อให้หยุด  รถต้องสงสัยคันดังกล่าวได้วิ่งไปหยุดบริเวณกลุ่มบ้านประชาชน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากจุดที่เกิดเหตุ

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบกลับพบว่าไม่ใช้รถเป้าหมายและมีประชาชนที่โดยสารมากับรถคันดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ จำนวน 3 ราย คือ นายรอมือซี แตเมาะ, เด็กหญิงอัชมี แตเมาะ, เด็กหญิงอาซูลา แตเมาะ จึงได้นำผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมดส่งรักษาตัว โรงพยาบาลบาเจาะ  และส่งตัวรักษาต่อที่ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แต่เด็กหญิงอาซูลา แตเมาะ ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ในเวลาต่อมา

จากการเข้าทำการตรวจสอบวิถีกระสุนพบว่ารถยนต์กระบะตอนครึ่งได้รับความเสียหาย ยางหลังสองข้างแตก และมีรอยกระสุนที่ตัวถังในแนวล้อรถ และมีกระสุนบางส่วน สูงกว่าแนวล้อรถ ซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนในรถบาดเจ็บและเสียชีวิต

วันที่ 24 ตุลาคม 2557 หลังจากเกิดเหตุเพียงวันเดียว ผู้บังคับกองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ได้แสดงความรับผิดชอบ ต่อการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดของหน่วย ในเวลาต่อมา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ร่วมกับ นายอำเภอบาเจาะ ได้สร้างความเข้าใจ และชี้แจงแนวทางช่วยเหลือต่อครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ หลังจากนั้นเข้าพบปะแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสีย และได้มอบเงินเยียวยาในเบื้องต้น และร่วมในพิธีอาบน้ำศพของ ด.ญ.อาซูลา  แตเมาะ จัดตัวแทนเข้าเยี่ยมและอำนวยความสะดวกแก่ นายรอมือซี  แตเมาะ ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ในส่วนของ ผบ.ฉก.นย.ทร. ได้เข้าพื้นที่เกิดเหตุทันที เพื่อทำความเข้าใจกับผู้นำศาสนาที่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนใน อำเภอบาเจาะ ได้แก่ นายมะกาแม  อิสอ โต๊ะอิหม่ามมัสยิดบ้านคลอแระ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส และนายมุคตาร์  เจะเลง ประธานชมรมโรงเรียนตาดีกา อำเภอบาเจาะ/เลขานุการชมรมโรงเรียนตาดีกา จังหวัดนราธิวาส เพื่อแสดงความรับผิดชอบ พร้อมกับขอคำชี้แนะ และขอความร่วมมือในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและญาติผู้เสียหายใน โดยทำการชี้แจงเหตุการณ์ และเร่งดำเนินการช่วยเหลือเยียวยายืนยันการให้ความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที 

หลังจากนั้น ผบ.ฉก.นย.ทร. พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, นายอำเภอบาเจาะ, นายอำเภอยี่งอ และประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ร่วมชี้แจงทำความเข้าใจ ถึงความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และชี้แจงการให้การช่วยเหลือและการเยียวยา และในโอกาสนี้  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, ผบ.ฉก.นย.ทร. ได้มอบเงินเยียวยาขั้นต้น  ให้กับนางอัสรูฮา สนิ มารดาและภรรยาผู้ได้รับผลกระทบ และร่วมกับ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายอำเภอบาเจาะ  อยู่ร่วมในบริเวณการจัดพิธีศพ เพื่อร่วมแสดงความเสียใจ  จนเสร็จสิ้นพิธีกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม

จากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ  นำไปสู่การได้รับบาดเจ็บของคนในครอบครัว นายรอมือซี ตาเมาะ รวม 3 คน และบุตรสาววัย 10 ปี ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมานั้น
เจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการในค่ำคืนวันนั้น มีความกล้าที่แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ต่อครอบครัวของผู้เสียหาย ขอโทษในสิ่งที่ได้กระทำลงไป พร้อมยอมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น และหน่วยงานต่างๆ ได้มอบเงินเยียวยาเพื่อทำการช่วยเหลือต่อครอบครัว นายรอมือซี ตาเมาะ

ทันทีที่ได้เกิดเหตุการณ์ขึ้นเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มองค์กรที่แสวงผลประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่ม PerMAS และองค์กรภาคประชาสังคม ได้ใช้เหตุการณ์ดังกล่าวกดดันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งรียกร้องให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ก่อเหตุ พ่วงด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษที่ประกาศใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในความรู้สึกส่วนตัวของผู้เขียน เห็นใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความกดดัน ที่จะต้องอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง มีความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ไม่รู้เมื่อไหร่จะถูกลอบทำร้ายจากกลุ่มขบวนการ แต่ก็ขอชื่นชมเมื่อกระทำความผิดก็ออกมายอมรับผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป ใช่ว่าการเยียวยาเป็นยาพารารักษาได้ทุกโรค ผู้ได้รับผลกระทบกับสิ่งที่ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป อย่างไรก็ไม่คุ้มค่า เกิดกับครอบครัวไหนมีแต่น้ำตาและความเสียใจ แต่ใครบ้างที่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เคยมีบ้างมั๊ยกลุ่มขบวนการโจรใต้ บีอาร์เอ็น เมื่อได้กระทำการเข่นฆ่าผู้คนบริสุทธิ์ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ กล้ายืดอกแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำ แต่น่าแปลกผ่านมาสิบกว่าปีไม่เคยเห็นมีใครหน้าไหนกล้าโผล่หน้าออกมาแสดงความรับผิดชอบเลย

ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจต่อญาติผู้เสียหาย และประชาชนในพื้นที่ ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการมอบเงินเยียวยาตามหลักเกณฑ์ อีกทั้งยังได้รายงานขออนุมัติเพิ่มเติมจาก ศอ.บต.เป็นกรณีพิเศษเป็นจำนวนเงิน 4,000,000 บาท เพื่อมอบให้กับครอบครัวผู้เสียหาย

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และในเวลาต่อมาได้มีการเคลื่อนไหวของบุคคลบางกลุ่มนำข้อผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ไปเปิดประเด็นโจมตีว่ารัฐสังหารประชาชน ถือเป็นบาปหรือไม่ได้รับคำอธิบายจากท่านนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา และประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา ได้กล่าวไว้ดังนี้ครับ ในแนวทางของศาสนาอิสลามในข้อของความขัดแย้ง 2 ฝ่าย เมื่อฝ่ายหนึ่งสำนึกผิดและได้กล่าวคำขอโทษ อีกฝ่ายที่เป็นมุสลิมด้วยกันก็มีหน้าที่อย่างเดียวคือต้องรับคำขอโทษ จบเรื่องนี้โดยไม่ติดใจซึ่งกันและกัน แต่ในเรื่องของค่าเสียหายทดแทนหรือเยียวยานั้นเป็นเรื่องที่จะต้องตกลงเรียกร้องกันตามสมควร แต่ไม่อาฆาตหรือเจ็บแค้นอีกฝ่ายหนึ่งอีกต่อไป ท่านใช้คำกล่าวว่า มีเตาะอาลาลทั้งนี้หากคนอื่นหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย พยายามยกประเด็นนี้ใส่ร้ายหรือว่ากล่าวทำให้เพิ่มความขัดแย้ง หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดใส่ร้ายต่อไปอีก ในวิถีมุสลิมไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเขาถือว่าเป็นการรบกวนวิญญาณผู้เสียชีวิต และจะนอนไม่หลับในกุโบร์ ซึ่งท่านนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา และประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา ได้แนะนำให้ใช้แนวทางของศาสนาอิสลามดังกล่าวข้างต้น ในการอธิบายสร้างความเข้าใจต่อผู้เสียหาย และประชาชนในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐยังคงต้องดำเนินต่อไป ตราบใดที่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบยังไม่สามารถนำสันติสุขกลับคืนมาสู่พี่น้องมลายูปาตานี  จากสถานการณ์ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีความจำเป็นในการประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่แห่งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการเคารพกฎหมาย กฎกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด


โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ที่ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ เพื่อป้องกันการก่อเหตุร้าย การขนย้ายอาวุธและวัตถุระเบิด ในการเตรียมการก่อเหตุรุนแรงของแนวร่วมขบวนการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสงขลา แม้ว่าการเดินทางสัญจรจะไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร แต่เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยส่วนรวม ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ต้องยอมเสียสละเวลา เพื่อนำพาสันติสุขที่ทุกคนใฝ่หากลับคืนมาสู่ดินแดนด้ามขวานทองแห่งนี้..ร่วมกัน

ที่มา http://www.deepsouthwatch.org/node/6353

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

กราดยิงชาวบ้านบันนังกูแว ความจริงที่สื่อไม่กล้าเปิดเผย

 ตนไทยปลายด้ามขวาน

            สถานการณ์ชายแดนภาคใต้ ผู้ที่ติดตามข่าวสารมาโดยตลอด จากการนำเสนอของสื่อมวลชนในแต่ละวันจะเห็นได้ว่ามีความรุนแรงขึ้นทั้งที่ก่อนหน้านี้เหตุการณ์ได้บรรเทาเบาบางลงไปบ้าง อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลให้ไฟใต้ไม่มีทีท่าจะดับลงสักที ความสงบ สันติสุข ที่ประชาชนในพื้นที่คาดหวังจากการพูดคุยสันติภาพต้องการ จะเป็นจริงได้หรือไม่ หากเหตุการณ์ยังคงคุกกรุ่นเช่นนี้อยู่ และจะต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดวันต่อวัน นอกเหนือไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร สร้างความแตกแยกทางความคิด บ่อนทำลายความรู้สึกของคนไทยที่รักชาติ รักแผ่นดินเกิดทุกคน   


     ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ บางคนอาจจะมองเป็นเรื่องปกติ และรู้สึกเบื่อหน่ายกับเหตุการณ์ฆ่ากันตายรายวันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีวี่แววจะสงบสักที ผู้คนต่างกล่าวถึงการก่อเหตุร้ายที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องปกติประจำวัน หากวันไหนเงียบไม่เกิดเหตุ รู้สึกผิดปกติ เพราะต่างคนต่างรู้สึกชินชากับเหตุร้าย และสามารถใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางเสียงปืน เสียงระเบิด และกลิ่นคาวเลือด แต่จากการสังเกตในช่วงนี้จะเห็นได้ว่าการก่อเหตุรุนแรงมีการมุ่งเป้าไปที่ประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก หลังจากนั้นมีการกล่าวอ้างเอาคืนด้วยการฆ่าแล้วเผาชาวไทยพุทธเพื่อสร้างเงื่อนไขความเกลียดชัง ความขัดแย้งขึ้นระหว่างเชื้อชาติ และศาสนา ในส่วนของการลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่มีบ้างประปราย หากสังเกตจะพบว่าการก่อเหตุกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ผู้ก่อเหตุรุนแรงจะเน้นการใช้ระเบิดเป็นหลัก ต่างกับประชาชนทั่วไปจะเป็นไปในลักษณะของการลอบยิง วางเพลิง และโปรยใบปลิวอ้างความชอบธรรมในการเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยการกล่าวอ้างทำเพื่อประชาชนปาตอนี  
        
     ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งที่ได้สะสมมานานแล้ว มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนกับธุรกิจการค้าความขัดแย้งระหว่างคนในตระกูล ปัญหาการเมืองท้องถิ่น ปัญหาภัยแทรกซ้อน กลุ่มอิทธิพลมืด ธุรกิจผิดกฎหมาย และยาเสพติด กลายเป็นเชื้อในกองเพลิงชั้นดีในการสุมให้ไฟใต้ไม่มีวันดับ การสร้างสถานการณ์ต่างๆ ของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเพื่อดึงดูดความสนใจ เหตุจูงใจให้กลุ่มผู้ที่กระทำผิดกฎหมายในเรื่องผลประโยชน์ต่างตอบแทน หันมาใช้บริการกลุ่ม RKK ติดอาวุธในพื้นที่เข่นฆ่าคู่ขัดแย้งธุรกิจเถื่อนเหตุนองเลือดจึงเริ่มต้นขึ้น เกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่โดยการอาศัยสถานการณ์บังหน้า ในการก่อเหตุของกลุ่มขบวนการBRN ผสมโรงโดยกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการในมหาวิทยาลัยดัง โดยเฉพาะกลุ่ม PerMAS ที่อาศัยสถานการณ์ความขัดแย้ง ปลุกปั่น ปลูกฝัง สืบทอดอุดมการณ์ด้านประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และมาตุภูมิ ให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความแปลกแยกด้านจิตใจ นำไปสู่ความหวาดระแวงเจ้าหน้าที่รัฐ

           

       ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ในการก่อเหตุฆ่ากันเองของประชาชนกลายเป็นปัญหาที่มีการนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ไฟใต้ได้อย่างแนบเนียน ลงตัวประจวบเหมาะกับห้วงเวลา มีการบิดเบือนกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จากกรณีนายอาแซ (ซัน) สมาชิกครอบครัว ผดุง บ้านบันนังกูแว ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกับอับดุลฮากิม ดาราเซะ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ยืนยันมาจากความแค้นส่วนตัว ความหวาดระแวง และความกังวลว่าจะถูกลอบทำร้ายจึงตัดสินใจชิงลงมือทำการก่อเหตุกราดยิงจน นายดอเลาะ นางมารีแย ผดุง ต้องมาจบชีวิตแทนลูกชายคาบ้านพัก กลายเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ซึ่งหลังเกิดเหตุนายอับดุลฮากิม กลายเป็นผู้ต้องสงสัยทันที่พร้อมกับการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย แต่การดำเนินเกมส์ของขบวนการBRN และกลุ่ม PerMSAS ได้มีการโฆษณาชวนเชื่อ กล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ หากพลิกปูมหลังของคนในตระกูล ผดุง นำมาส่องทีละคนพบว่าไม่ธรรมดาอย่างที่คิด ไม่ติดใจเลยว่าทำไมกลุ่มขบวนการ BRNและกลุ่ม PerMAS จึงจัดฉากสร้างละครให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่ โดยนายดอเลาะ ผดุงผู้พ่อ พฤติกรรมเป็นแนวร่วม เมื่อปี 2553 แต่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร แต่ต่อมาภายหลังจากนายมะยาหะรี อาลี ซึ่งเป็นแกนนำในพื้นที่บ้านบันนังกูแว ได้ถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิต นายดอเลาะ ผดุง ได้ขึ้นมาทำหน้าที่แทนอย่างเต็มตัว 
            นางมารีแย ผดุง ภรรยา นายดอเลาะ มิใช่ย่อยแต่เริ่มเดิมทีเป็นแกนนำฝ่ายสตรีเคลื่อนไหวในพื้นที่ ทำหน้าที่ปลุกระดมมวลชน ชักชวนให้ราษฎรออกมาชุมนุมต่อต้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่บ้านบันนังกูแว ส่วนตัวลูกชาย คือนายอาแซ (ซัน) ผดุง เดิมเป็นสมาชิกระดับปฏิบัติการ จบการศึกษาชั้น 10 จากโรงเรียนธรรมวิทยา ขณะกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุลอบวางระเบิด 7 จุด ภายในเขตเทศบาลเมืองยะลา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 หน่วยงานภาครัฐจึงได้ออกหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 นายอาแซ ได้ไปรายงานตัวแสดงตนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เพื่อเข้าร่วมศูนย์ยะลาสันติสุข ได้ยอมรับว่าเคยถูกชักชวนเข้าร่วมขบวนการจริงสมัยที่เรียนอยู่โรงเรียนธรรมวิทยา แต่ไม่เคยก่อเหตุรุนแรงจึงได้รับการปล่อยตัวไปเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 ที่น่าสนใจคือในปัจจุบันนายอาแซ ผดุง เป็นสมาชิกกลุ่มชมรมบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนใต้ (Insouth) และสมาชิกกลุ่ม PerMAS ที่มีนายสุไฮมี ดูละสะ เป็นประธานกลุ่มในการขับเคลื่อนแย่งชิงมวลชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
            ย้อนกลับไปดูต้นตอความขัดแย้งของตระกูล ผดุง กับนายอับดุลฮากิม ดาราเซะ มาจากสาเหตุนายอาแซ ตกเป็นผู้ต้องสงสัยลอบวางระเบิดอีกถึง 2 ครั้ง ด้วยกันหลังได้รับการปล่อยตัว และปมที่สำคัญนำไปสู่ความขัดแย้งเริ่มต้นจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดนายอับดุลฮากิม ดาราเซะ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา กับพวกในพื้นที่บ้านบันนังกูแว โดยนายอับดุลฮากิมฯ ให้การยืนยันชัดเจนว่า นายอาแซ ผดุง มีส่วนเกี่ยวข้องแน่นอน ซึ่งเป็นชนวนนำไปสู่ความบาดหมาง ความหวาดระแวง และในที่สุดนำมาซึ่งความตายของคนในครอบครัว ผดุง ถึง 2 ศพ ด้วยกัน
           
 หลังเกิดเหตุกลุ่ม PerMAS สร้างละครน้ำเน่าเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ลงพื้นที่เกิดเหตุทันที กล่าวหาเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ ด้านขบวนการ BRN มิรอช้าใช้โอกาสในการก่อเหตุ กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ทันทีโดยการปาระเบิด M-26A1 ร้านก๋วยจั๊บ หน้าโรงเรียนผดุงประชาพาณิชยการ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 แต่โชคดีระเบิดด้านไม่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย พร้อมกันนี้ได้ทิ้งใบปลิวไว้ข้อความว่า โทษฐานที่มึงปล่อยให้หมาอับดุลฮากิม ดาราเซะอส.อ.บันนังสตา ระรานชาวบ้านบันนังกูแวถัดมาวันที่ 4 มีนาคม เกิดเหตุยิง 2 สามีภรรยาชาวไทยพุทธ พื้นที่เกิดเหตุหมู่ที่ 2 ตำบล/อำเภอบันนังสตา นายอภิชาต แสงจันทร์ นางอังคณา หนูแดง ภรรยาเสียชีวิต สามีได้รับบาดเจ็บ ส่วนวันที่ 5 มีนาคม 2557 เหตุเกิดกับชาวไทยพุทธเช่นเดิม นายประวิง นางสุนีย์ หลุมนา เสียชีวิตคาที่เหตุเกิดพื้นที่ บ้านจาเต๊ะ หมู่ที่ 1 ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา และเหตุการณ์ที่ 4 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2557 คนร้ายประกบยิง สิบโทจิรพันธ์ ปราบณรงค์ สังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 ช่วยราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เสียชีวิต ส่วนนางสาวอารีรมณ์ สมสวย ภรรยาได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดท้องที่บ้านทุ่งคอก ตำบลตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พร้อมทิ้งใบปลิว กูทำเพื่อชาวบ้าน บันนังกูแว

            นี่คือความเลวร้ายของกลุ่มขบวนการ BRN ที่ยังคงใช้ยุทธวิธีรูปแบบเดิมๆ ในการก่อเหตุ จากปัญหาความขัดแย้งส่วนตัว การฆ่ากันเองของกลุ่มสูญเสียผลประโยชน์ นำมาซึ่งความตายของการฆ่ากัน ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ขบวนการ BRN กลับนำมาอ้างว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ผลสุดท้ายสร้างความหวาดกลัวด้วยการลงมือเข่นฆ่าชาวไทยพุทธผู้บริสุทธิ์ พร้อมกับสร้างความชอบธรรมด้วยการโปรยใบปลิว อย่างหน้าด้านๆ แค่ต้องการเอาคืนที่คนของขบวนการโดนฆ่าตาย ทั้งๆ ที่ประชาชนผู้เสียชีวิตไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับใครทั้งสิ้น ครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อความจริงปรากฏออกมาโจรใต้ไร้ศาสนากลุ่มนี้ไม่เคยออกมารับผิดชอบ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่ยังคงดำรงอยู่ต่อไปตราบใดไฟใต้ยังไม่มอดดับ ตราบใดที่ยังมีเชื้อเพลิงคอยหล่อเลี้ยงอยู่ อีกกี่ศพที่จะต้องสังเวยกับคราบน้ำตาที่ไม่เคยแห้งเหือดของคนที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวไปศพแล้วศพเล่า อนิจจา..ความสงบ สันติสุข ที่ทุกคนโหยหา…

*****************************

ภัยแทรกซ้อนผลประโยชน์มหาศาลของ BRN

ภัยแทรกซ้อนผลประโยชน์มหาศาลของ BRN



นับตั้งแต่ปี 2547เป็นต้นมาที่กลุ่ม BRNได้ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง ไฟใต้ได้ลุกโชนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงทุกรูปแบบที่กลุ่ม BRNได้สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของทางราชการและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องล้มตายลงแทบไม่เว้นแต่ละวัน แม้ว่ารัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่พยายามทุกวิถีทางที่จะดับไฟใต้ด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ไฟใต้ได้ดับลงโดยเร็วที่สุดแล้วก็ตาม จนกระทั่งล่าสุดก็คือการพูดคุยตกลงกับกลุ่ม BRNก็ต้องล้มคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่าแล้วปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร
สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีปัญหาภัยแทรกซ้อนที่แฝงตัวอยู่ในรูปของผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่ม BRNเช่น สินค้าหนีภาษี น้ำมันเถื่อน ยาเสพติด และการค้าแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงท่อใหญ่อย่างดีให้กับกลุ่มBRNในการก่อความรุนแรงในพื้นที่  จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นได้เชื่อมโยงไปถึงแหล่งที่มาของท่อน้ำเลี้ยงที่ให้การสนับสนุนการก่อเหตุความรุนแรงแต่ละครั้ง ดังเช่นเหตุการณ์ที่กลุ่ม BRNได้เข้าโจมตีฐานร้อย.ร.15121(ฐานพระองค์ดำ) เมื่อวันที่ 19 มกราคม2554ที่ผ่านมาก็เนื่องจากหน่วยนี้เป็นจุดที่ตั้งด่านตรวจเพื่อสกัดกั้นภัยแทรกซ้อนดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการสิ่งผิดกฎหมายที่ใช้เส้นทางนี้ในการลักลอบขนส่ง โดยเฉพาะน้ำมันเถื่อนไม่พอใจเพราะได้มีการจับกุมน้ำมันเถื่อนได้หลายครั้งสร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการมีมูลค่ามหาศาล ผู้ประกอบการจึงมีการระดมทุนที่เรียกว่าลงขันประมาณ 1 ล้านบาทเพื่อใช้ในการเข้าตีฐานแห่งนี้

            การปราบปรามน้ำมันเถื่อนได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 4กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้จับกุมวันละประมาณ 60 คัน พอเริ่มจับกุมในที่พื้นที่จังหวัดยะลาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 ก็เริ่มมีระเบิดที่ จังหวัดยะลา แต่ระเบิดครั้งนี้มันแตกต่างจากระเบิดครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาก็คือมันเกิดเปลวเพลิงขนาดใหญ่เผาผลาญตึกแถวในตัวเมืองยะลาไป 11 คูหา ก็ขยายผลปราบปรามหนักขึ้นไปอีกไปตรวจค้นโกดังน้ำมันเถื่อนที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แล้วก็มีระเบิดอีกครั้งที่ร้านคาราโอเกะ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสจนกระทั่งมีเหตุระเบิดอีกครั้งในจังหวัดยะลา จากการเข้าตรวจค้นจับกุมรายใหญ่ทุกครั้ง ประมาณ 1-2 วัน ก็จะมีเหตุระเบิดตามมาทุกครั้ง จนตรวจค้นไปถึงโกดังของเจ้าพ่อรายใหญ่ในพื้นที่และมีการตรวจค้นโกดังหลายแห่งจับกุมน้ำมันได้หลายหมื่นลิตร
จากการตรวจค้นโกดังของนายนูซันตารา  แวดือราแม หรือผู้ใหญ่ตารา ในพื้นที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก็ยอมรับว่าได้ค้าน้ำมันเถื่อนจริง ได้มีการส่งรถน้ำมันไปในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส วันละประมาณ 20,000 ลิตร  ผู้ใหญ่ตาราฯ เป็นผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่รายหนึ่ง มีเรือบรรทุกน้ำมันถึง 30 กว่าลำ แล้วก็ขยายจากผู้ใหญ่ตาราฯ ไปยังพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบโกดังขนาดใหญ่ มีแท้งค์ขนาด 30,000 ลิตร อยู่จำนวน 6-7 ถัง พบหลักฐานการนำน้ำมันเถื่อนปลอมปนกับน้ำมันพฤติกรรมก็คือ ไปซื้อน้ำมันมาจำนวน 10,000 ลิตร แล้วนำน้ำมันเถื่อนผสมลงไปอีก 30,000  ลิตรแล้วนำไปส่งที่ปั๊มต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สำหรับรายนี้ก็จะมีเครือข่ายอยู่จำนวน 14 แห่ง ยังพบหลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เอกสารการเบิกถอนเงินของชมรมอิหม่ามรือเสาะ จากการตรวจสอบพบว่ามีการถอนเงินจากสหกรณ์ อิพนูอัฟฟาน จำนวน 3บัญชี ในวันที่19 และ 20มกราคม 2554จำนวน 1,015,000บาท โดยเจ้าของคือนายมนัส  ตาฮี
   จากข้อมูลนั้นพบความเชื่อมโยงของนายมนัส - ตาฮี  กับเครือข่ายของนายอับดุลฮาเล็ง  ยามาสกา แกนนำพื้นที่ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และมีความเชื่อมโยงไปถึง นายซูฟียัน  ยะกูมอ ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการที่เข้าโจมตีฐาน ร้อย.ร.15121 จากการตรวจสอบมีข้อมูลว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 นายมนัส  ตาฮี ได้จ่ายเงินให้กับเครือข่ายของนายซูฟียันฯ จำนวน 400,000 บาท โดยจ่ายเงินผ่านนางซูกีนา  ยามาสกา ลูกสาวของนายอับดุลฮาเล็งฯ 

ต่อมาได้มีการขยายผลจากพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ไปยังพื้นที่จังหวัดยะลา เข้าตรวจค้นแหล่งสะสมน้ำมันหลังมัรกัสจังหวัดยะลา สามารถตรวจยึดบุหรี่หนีภาษีได้จำนวน 20,000 กว่าคอตตอน มูลค่าประมาณ15 ล้านบาท ซึ่งมี นายสุไฮมิง  อาลีมามะเป็นเจ้าของและตรวจสอบเอกสารก็พบหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินจากเครือข่ายสินค้าหนีภาษี และน้ำมันเถื่อน ไปยังสถานที่โรงเรียนตาดีกาตันหยงนากอ ซึ่งเป็นเครือข่ายฝ่ายเศรษฐกิจของนายอาหมัด  ตือง๊ะ ที่ อำเภอบันนังสตา และ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาตรวจพบบัญชีที่มียอดเงินประมาณ8,000,000 บาท จากการตรวจสอบเลขบัญชี และเอกสารต่างๆ พบพฤติกรรม คือจะมีการโอนเงินทุกคืน ในห้วงเวลา 22.00– 24.00นาฬิกา คืนละประมาณ 200,000– 300,000 บาท มากที่สุด 800,000 บาท รวมแล้วสัปดาห์ละ 2-5ล้านบาท หนึ่งเดือนก็ประมาณ 20 ล้านบาท
จากการติดตามตรวจสอบบัญชีพบโอนมาที่บัญชีนายมาหามะ  โครมัส/ลาลา โกลก ที่ทำธุรกิจเรื่องการค้าผ้ามือสองบังหน้าอยู่ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ก็พบบัญชีที่มีวงเงินจำนวนมากเดือนละหลายสิบล้านบาท โดยมีการโอนมาจากจังหวัดอยุธยา, กรุงเทพ,  สมุทรปราการ, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ยะลา. และ ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยมีพฤติการณ์หิ้วขนเงินสดวันละประมาณ 3 - 5 ล้านบาท นำไปฝากเข้าธนาคารในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเชีย แล้วพบการโอนเงินไปใน ประเทศมาเลเชีย,อินโดนีเซีย,ซาอุดิอาระเบีย, ปากีสถาน และ อัฟกานิสถานและยังพบโฉนดที่ดินจำนวนมาก รวมแล้วมีจำนวน 189 แปลง เป็นที่ดิน 184 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินในเขตเมืองที่มีมูลค่าสูง รวมมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท
ข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงข้ามประเทศ มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายของชมรมสมาคมไทย  ปากีสถาน ซึ่งมีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่าอีกไม่นานแผ่นดินนี้ก็จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะเป็นพลเมืองของประเทศใหม่ ก็สามารถลงหลักปักฐานทำมาหากินและทำธุรกิจได้ จึงให้นายมาหามะ  โครมัส เป็นตัวแทนนายหน้าในการถือครองที่ดิน
           
  ท่านผู้อ่านครับ นี่เป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งเท่านั้นเอง ยังมีความเชื่อมโยงให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของกลุ่ม BRN อีกมากมาย เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอจะมองภาพออกแล้วซินะครับว่า “ทำไม”สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงดูเหมือนกับว่าไม่มีวี่แววจะสงบลงได้ง่าย ๆถ้าเป็นเพียงแต่คำกล่าวอ้างจากกลุ่มperMASซึ่งเป็นองค์กรบังหน้าโดยใช้เยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกครอบงำทางความคิดผิด ๆ ในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และอัตลักษณ์ โดยฝังรากมาตั้งแต่โรงเรียนตาดีกาหรือปอเนาะแล้วนั้นมันคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ แต่ปัญหาภัยแทรกซ้อนเหล่านี้คือผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่ม BRNที่เชื่อมโยงไปถึงเครือข่ายภายนอกประเทศที่มีผลประโยชน์ร่วมกันและมีการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ ที่ทำให้การแก้ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความยากลำบากในการแก้ปัญหาซึ่งในระดับรัฐบาลต้องประสานการปฏิบัติในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้สอดคล้องร่วมกัน และที่สำคัญพี่น้องประชาชนทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันทำให้แผ่นดินนี้ไม่ให้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างของชมรมสมาคมไทย  ปากีสถาน ที่มีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่า“อีกไม่นานแผ่นดินนี้ก็จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะเป็นพลเมืองของประเทศใหม่” เราจึงจะสามารถก้าวพ้นปัญหาเหล่านี้ไปได้  มิฉะนั้นการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ดูเหมือนว่าจะถึงทางตัน หรือมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เลย
แหวะอก BRN
*******************************

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

PerMas จริงหรือที่เราว่าพวกเขาเป็นแมลงร้าย

ชบาสีขาว

โดยทั่วไป นิสิต นักศึกษา ต้องมุ่งมั่นหมั่นศึกษาหาความรู้ เมื่อสำเร็จการศึกษาเขาเหล่านี้คือ  ผู้สร้างอนาคตของประเทศชาติ ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตอบแทนบุญคุณบุปการีที่ได้ตรากตร่ำหาเงินทองส่งเสียจนสำเร็จการศึกษา  มีงานมีการ  นี้คือความเข้าใจที่มีต่อนิสิต นักศึกษา 
           
 แต่  ณ ปัจจุบันนี้บทบาทของนิสิต นักศึกษาบางคนบางกลุ่มได้เปลี่ยนไป  ดังเช่น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ได้อาศัยสภาพของการเป็นนิสิตนักศึกษาต่อต้านการปฏิบัติงานของภาครัฐมากกว่าการสนใจศึกษาในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ  จนหลายๆฝ่ายเฝ้าจับตามอง ถึงแม้ว่าเขาเหล่านั้นจะออกมาปฏิเสธพฤติกรรมของตนเองหรือ กลุ่มในบทบาทบนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศที่ภาครัฐเร่งรีบแก้ไขปัญหาให้กลับคืนสู่สันติสุข  แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นได้เพียงแค่การแก้ตัวเท่านั้น        
PerMas สหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานี... นักศึกษากลุ่มนี้แปลงมาจาก        สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) เดิม ซึ่ง สนน.จชต.เป็นการรวมตัวของสหพันธ์       นิสิตนักศึษาแต่ละจังหวัดของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันยุบไปหมดแล้ว เหลือ PerMas องค์กรเดียว รวมทั้ง พีเอ็นวายเอส. กลุ่มนักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เท่านั้น

   PerMas  จริงหรือที่เราว่าพวกเขาเป็นแมลงร้าย... พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นแหล่งผลประโยชน์ของคนหลายๆกลุ่ม ขนาดต่างประเทศยังใฝ่ฝันต้องการเลย นับประสาอะไรที่บรรดาพวกคลั่ง       ลัทธิอิสลามนอกรีตจากนอกประเทศไม่ต้องการ อย่างเช่น ขบวนการ บีอาร์เอ็น.(BRN.)คือองค์กรหนึ่งที่             ไม่รู้ว่าใครเป็นใครได้ใช้ความพยายามทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบ่งการ     ฆ่าไม่เว้นผู้นับถือศาสนาเดียวกันโดยบิดเบือนว่าฆ่าเพื่อศาสนาจะได้ไปสวรรค์  แต่ก็ยังคงหวั่นเกรงกฎหมาย อำนาจมืดที่มองไม่เห็นจะจับดำเนินคดีในฐานะกบฎต่อแผ่นดิน ประกอบกับความแก่ชราที่หมดความน่าเชื่อถือจากหลายๆฝ่าย   ดังนั้นขบวนการ บีอาร์เอ็น.( BRN.) จึงได้เพาะเลี้ยงแมลงตั้งแต่ยังเยาว์วัยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ     ให้ได้มาซึ่งดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้       PerMas ซึ่งเปรียบได้กับแมลงกลุ่มนั้นจึงทำทุกอย่าง       เพื่อสนับสนุนความหวังของขบวนการ บีอาร์เอ็น.(BRN.) แลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มที่ได้มาซึ่งเงินทอง    หนทางค้าสิ่งผิดกฎหมาย บำเรอความสุขสำราญ  หรือแม้กระทั่งการช่วยต่อสู้คดีให้กับครอบครัว  

              งานที่สำคัญที่  PerMas  ทำ   หากมองผิวเผินนั่นคืองานเชิงรณรงค์ อย่างเช่น "สาตูปาตานี" เพื่อสร้างรูปแบบใหม่ของปาตานี สร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนงานมวลชน สร้างและจัดตั้งองค์ความรู้ เป็นการทำงานเชิงความคิด และทำงานด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ในความรู้สึกลึกๆของนิสิต นักศึกษาด้วยกัน  ประชาชนทั่วไป แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคง ยังคงเคลือบแคลงสงสัยต่อการกระทำของ PerMas นั่นคือ การปลุกระดม โดยเฉพาะการใช้เวทีเสวนาอย่างเช่น เวที สาตูปาตานี  การผลิตสื่อ วีดีโอ   การเขียนป้ายผ้า  ใบปลิว  ป่นสีสเปรย์บนท้องถนน  แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครหากไม่ใช้กลุ่มคนที่มีการศึกษาอย่างสมาชิกของ PerMas  จนกระทั่งสื่อมวลชนเผยแพร่เรื่องราวของ  PerMas ว่าคือปีกข้างหนึ่งของ บีอาร์เอ็น.( BRN.) จนกลุ่ม PerMas ต้องรีบตอบโต้   แต่ที่สื่อมวลชนได้เผยแพร่


ทำไม.... คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เชื่อว่า PerMas คือปีกข้างหนึ่งของ บีอาร์เอ็น.( BRN.)
PerMas ได้พยายามปลุกกระแสด้วยการปลุกระดมสร้างร้อยร้าวให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามกับศาสนาพุทธ อย่างเช่น เราถูกพวกบาบีเอาเปรียบ เราต้องไล่มันออกไป  ปลุกระดมให้ประชา  ชนกลัว พ.ร.ก. ทั้งๆที่ไม่รู้แน่ชัดว่า พ.ร.ก.ใช้เพื่ออะไรแต่กลัวว่าจะเกิดผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวที่กระทำผิดอยู่    ปลุกระดมนำเหตุการณ์ความเป็นความตายของมุสลิมเรามาใช้ประโยชน์  ซึ่งทุกครั้งที่เกิดเหตุPERMAS รีบฉวยโอกาสทันที
ครูตาดีกาผู้หญิงถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ  เมื่อ 18 เม.ย.2556 เหตุอาจพัวพันกับกลุ่ม อาร์เคเค.          ( RKK.) ด้วยการเป็นสายให้กลุ่มติดอาวุธ   PerMas  ต้องรีบร้อนเข้าช่วยเหลือเพราะเห็นว่านั่นคือเรื่องจริงที่ทำผิดพลาด  
                สุดท้ายที่ต้องเชื่อว่า PerMas คือแมลงร้าย นั่นคือ  เมื่อ 3 ก.พ.57  ขณะที่นาย เจะมุ  มะมัน พร้อมด้วยภรรยา และบุตรจำนวน 3 คน กลับจากการละหมาดที่มัสยิดในหมู่บ้าน  เมื่อมาถึงบ้านพัก   บ.ปะลุกาแปเราะ หมู่ที่ 7 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จว.น.ธ. กำลังจะเข้าบ้านมีคนร้ายจำนวนหนึ่งซุ่มอยู่ข้างทางใช้ปืนสงครามลอบยิง ทำให้ลูกชาย  3  คนเสียชีวิต  ส่วนภรรยา และนายเจะมุ ได้รับบาดเจ็บ  การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรม  ไร้จิตสำนึก เข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ไม่เว้นกระทั่งเด็กที่ต้องตกเป็นเหยื่อของแผนชั่วๆ เพียงแค่ต้องการโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่  เพื่อสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งและความเกลียดชัง ระหว่างพี่น้องประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ  ซึ่งหลังเกิดเหตุไม่นาน PerMas ได้สวมบทพระเอกโดยกลบเคลื่อนแผ่นร้าย ได้ยกกลุ่มสมาชิกไปที่บ้านของนายเจะมุ  พร้อมกับได้กล่าวอ้างว่าทั้งหมดคือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆที่ยังมิได้มีการสืบสวนหาข้อเท็จจริง  และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง PerMas ได้นำเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าไปปลุกระดมในเวที สาตู ปาตานี


            เวที สาตู ปาตานี ด้วยการบังคับให้นายเจะมุ  เข้าร่วมบนเวทีด้วย   สังเกตเห็นว่านายเจะมุเอง ก็ยังไม่พร้อมที่จะพูดอะไร  ทำไมนะมันช่างเหมาะเหม็งกันเสียจริงๆ ระหว่างเกิดเหตุกับการจัดเวที สาตู ปาตานี ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะครับ   เพราะ PERMAS ทำได้แต่ไม่เนียน    และ เมื่อ 23 ก.พ.57  คนร้ายใช้รถกระบะเป็นยานพาหนะ กราดยิงแล้วเผาบ้านชาวบ้าน หลัง  ที่หมู่  บ.บันนังกูแว ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จว.ย.ล. เป็นเหตุให้ชาวบ้านสองสามีภรรยาเสียชีวิต ราย บ้านเรือนเสียหาย รถยนต์โดนเผา คัน ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนอาก้า และ M-16 ตกเกลื่อนกว่า 50 ปลอก หลังก่อเหตุคนร้ายได้ขับรถหลบหนีและโปรยตะปูเรือใบระหว่างเส้นทาง การกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรงพยายามยั่วยุและสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ การกระทำเช่นนี้ได้มีการวางแผนไว้อย่างดีโดยใช้ประชาชนที่ไร้ทางต่อสู้เป็นเหยื่อแล้วโยนความผิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดิม  ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นการกระทำเดิมๆ เมื่อหลักฐานเปิดเผยสุดท้ายผู้กระทำผิดก็หนีไม่พ้นสมาชิก PerMas ภายใต้การนำของ บีอาร์เอ็น.(BRN.)
PerMas  คือแมลงร้ายที่ถูกเลี้ยงดูโดยขบวนการ บีอาร์เอ็น.( BRN.) ผู้มีบทบาทหน้าที่ดำเนินงานด้านปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านนโยบายการทำงานของภาครัฐทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ จัดตั้งกลุ่มใต้ดินอย่าง อาร์เคเค.( RKK.) เพื่อทำงานใต้ดินต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่ สร้างความหวาดกลัวต่อประชาชนทั่วไป
ภาพลักษณ์ของ PerMas  ยังคือนิสิต นักศึกษา ที่ขาวบริสุทธิ์ ผู้เป็นอนาคตของประเทศชาติ  ภาครัฐคงต้องหามาตรการที่จะทำให้ PerMas คงสภาพภาพลักษณ์ที่บริสุทธิ์นี้ได้อย่างไร ?  เพราะ PerMas ในสายตาและความรู้สึกของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาคือ “แมลงร้าย” ที่ยังคงบินได้เสรีพร้อมที่จะกัดกินความสงบสุขของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้อย่างไรความผิด เพราะเขาคือฝ่ายวางแผนและเลือกผู้ปฏิบัติอันเลวร้ายที่เป็นภัยต่อประชาชนและความมั่นคงของชาติอย่างเงียบๆ ในฐานะ “ แมลงร้าย ” ตัวหนึ่งของ ขบวนการ บีอาร์เอ็น. (BRN.)


***********************************